Friday, February 13, 2015

เกิดอะไรขึ้นกับสมองของเรา เมื่อตกหลุมรักใครสักคน




         อุ๊ย ทำไมเห็นหน้าเค้าแล้วเราใจเต้นแรง แค่จับมือ กอด ก็รู้สึกร้อนวูบวาบ ใจสั่นสะท้านราวกับแผ่นดินไหว เกิดอะไรขึ้นกับสมองของเรากันนะเนี่ย

          ความรัก ความรู้สึกอันแสนมหัศจรรย์ของมนุษย์ ที่สามารถทำให้คนเราสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ได้ และยังทำให้ร่างกายของมนุษย์เกิดความเปลี่ยนแปลงได้อย่างไม่น่า­­­เชื่อ ทั้งหมดนี่เกิดจากสมองสั่งการทั้งนั้นล่ะค่ะ แต่ทำไมสมองถึงสั่งการให้เราถึงรู้สึกใจสั่นไม่อยู่กับเนื้อกับ­­ตัว แถมยังหน้าแดงเขินอายอย่างบอกไม่ถูกเมื่อคุณตกหลุมรักไปจนถึงเป็นเจ้าข้าวเจ้าของใครสักคน คำตอบอยู่ข้างล่างนี้แล้ว

เกิดอะไรขึ้นกับสมอง เมื่อเจอคนที่แอบปิ๊ง

          อาการวาบหวิวคล้ายกับมีผีเสื้อนับร้อยตัวบินวนเวียนอยู่ในท้อง เวลาที่เราเจอหน้าคนแอบปลื้มเนี่ย เป็นอาการที่สมองสั่งการมานั่นเองค่ะ เพราะเมื่อเราเจอหนุ่มหรือสาวคนนั้น สมองจะผลิตฮอร์โมนความเครียดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้หัวใจเต้นแรง รู้สึกร้อนผ่าว และท้องไส้ปั่นป่วน หรือที่มีคนเปรียบเปรยว่ามีผีเสื้อบินอยู่ในท้องนี่แหละ แถมบางคนยังมีอาการเหงื่อออก ปากแห้ง และพูดผิด ๆ ถูก ๆ ตะกุกตะกักอีกด้วยนะ

  สมองกำลังทำอะไร เมื่อเกิดความรู้สึกรักแรกพบ

          เรื่องของรักแรกพบแม้จะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุและผล แต่สำหรับทางวิทยาศาสตร์นั้น ความรู้สึกรักแรกพบเกิดจากการที่ประสาทการรับรู้กลิ่นสัมผัสได้­­­ถึงฟีโรโมนของเพศตรงข้าม และส่งสัญญาณไปยังสมองทำให้เกิดความรู้สึกสนใจและหลงใหลในทันที­­­ทันใด นอกจากนี้กลิ่นยังช่วยทำให้บรรเทาความรู้สึกคิดถึงและสร้างความ­­­พึงพอใจให้คนรักได้อีกด้วย อย่างเช่น การที่อีกฝ่ายนำเสื้อผ้าของอีกฝ่ายมาสวมใส่เพื่อให้ตนเองรู้สึก­­­คลายความคิดถึงเมื่อต้องอยู่ห่างกันค่ะ

เมื่อเกิดความรักขึ้นแล้ว สมองล่ะเป็นอย่างไรบ้าง

          เมื่อคนเรามีความรัก สมองของเราในส่วนความพึงพอใจจะถูกกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนชนิดหน­­­ึ่งที่ ชื่อว่าโดปามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารความสุขออกมา ทำให้ความเครียดลดลงและทำให้เรามีความสุขมากขึ้น โดยมีการศึกษาหนึ่งที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับสมองพบว่า เมื่อให้อาสาสมัครดูภาพของคนที่รัก ระบบประสาทจะกระตุ้นสมองส่วนความพึงพอใจให้ทำงานมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันเมื่อระดับโดปามีนสูงขึ้น ระดับของเซโรโทนิน (Serotonin) สารความสุขอีกชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่ในการควบคุมอารมณ์จะทำให้คุณรู้สึกกระวนกระวาย และว้าวุ่นใจในช่วงเวลาที่มีความรักค่ะ

 
สัมผัส กอด จูบ ทำไมถึงรู้สึกผูกพันจัง

          เฮ เลน ฟิชเชอร์ (Helen Fisher) นักมานุษยวิทยาด้านชีวภาพ บอกให้เรารู้ว่า เวลาที่เราได้สัมผัสคนที่รัก ไม่ว่าจะเป็นการโอบกอด หรือการจูบ สารออกซิโทซิน (Oxytocin) จะถูกหลั่งออกมาทำให้เรารู้สึกสงบและเกิดความผูกพันกับคน ๆ นั้นโดยปกติแล้วระดับของสารออกซิโทซินนั้นจะมีปริมาณสูงในมารดาที่เ­­­พิ่งคลอดลูกซึ่งทำให้เกิดการผลิตนมให้กับทารกมากขึ้น และทำให้เกิดความผูกพันกับทารกค่ะ ดังนั้น ถ้าหากคุณรู้สึกว่าอยากจะกอดหรือสัมผัสคนที่รักละก็ นั่นแปลว่าสารออกซิโทซินกำลังอยู่ในระหว่างการทำงานอยู่ในร่างก­­­ายนี่ล่ะค่ะ

สมองและความปรารถนา ส่งผลต่อการหลั่งของฮอร์โมนอย่างไร

          ความรู้สึกปรารถนาจะส่งสัญญาณให้สมองกระตุ้นร่างกายในการผลิตฮอร์โ­มนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) ให้สูงขึ้น ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะไปกระตุ้นให้เกิดความต้องการทางเพศมากขึ้น­ และนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ได้ ซึ่งโดยปกติแล้วฮอร์โมนชนิดนี้จะมีสูงในเพศชายเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่าคนเราสามารถถ่ายทอดฮอร์โมนดังกล่าวด้วยการจู­­บ การสัมผัส และการมีเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย

เมื่อรักจนผูกพัน และรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ สมองทำงานอย่างไร

          เมื่อความรักของคนเราก้าวข้ามไปสู่ความผูกพันและความรู้สึกเป็น­­­เจ้าของแล้ว สมองก็จะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารทำหน้าที่อะดรีนาลิน (Adrenaline) ออกซิโทซิน ซึ่งทำให้คนเราเกิดความลุ่มหลงในความรัก รวมทั้งสารวาโซเพรสซิน (Vasopressin) และกระตุ้นให้สารโดปามีนหลั่งออกมาด้วย ทำให้คนเราจะให้ความสนใจ­แต่กับเรื่องของคนที่เรารักมากขึ้นกว่า­­คนอื่น ๆ โดยสารโดปามีนนั้นจะหลั่งออกมาแค่เพียงในช่วงเริ่มรู้สึกรักใครครั้งแรก และอีกครั้งเมื่อรู้สึกผูกพันค่ะ


          เห็นไหมล่ะคะว่าสมองของเรามีความเกี่ยวข้องกับความรู้สึกรักมาก­­­ขนาดไหน ความรักนั้นไม่ได้แค่เพียงเกิดจากความรู้สึกเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับสมองอีกด้วย แต่ถึงแม้สมองจะสั่งการให้รักคนอื่น แต่ก็อย่าลืมรักตัวเองให้มาก ๆ เพราะถึงอย่างไรตนเองก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่ควรจะรักนะ
  
แหล่งที่มา  http://health.kapook.com/view112123.html
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

No comments:

Post a Comment