หยุดทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวกัน… เชื่อว่าหลายคนคงต้องสงสัยกันแน่ว่าทำไมถึงทำไม่ได้
ทั้ง ๆ ที่บางอย่างก็สามารถทำพร้อมกันได้ แถมช่วยทุ่นเวลาอีกด้วย แน่นอนทีเดียวว่าต้องมีเหตุผล
มาไขความกระจ่างไปพร้อมกันเลยเถอะ
บางครั้งในเวลาที่จำกัดก็เป็นแรงผลักดันที่ทำให้เราต้องจัดการอะไรหลาย
ๆ อย่างภายในเวลาเดียวกันให้เสร็จ เช่น ออกมาทำงานข้างนอกแต่ต้องส่งเมลตอบคำถามลูกค้า
หรือ ต้องโทรศัพท์เรื่องงานกับลูกค้าในขณะที่กำลังเซ็นเอกสารไปด้วย หรือแม้แต่การคุยโทรศัพท์ขณะทำอาหาร
เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลที่เราคิดว่าทำได้นั้น จากข้อมูลในเว็บไซต์ Health.com เผยว่า ความจริงแล้วการบริหารจัดการหลายอย่างในเวลาเดียวกันถือเป็นสิ่งที่เราไม่ควรทำ และยังเป็นนิสัยของคนไม่รอบคอบอีกด้วย จริงหรือไม่อย่างไรต้องอ่านจ้า
1. ร่างกายเราไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อสิ่งนี้
แน่นอนทีเดียวว่า
ในเมื่อร่างกายของเรามีสมองเพียงอันเดียว แค่นี้ก็ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เราเห็นว่า
มนุษย์เรามีข้อจำกัดในการทำงานว่าควรจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น เพื่อผลักดันให้สำเร็จผล
หากจะยกตัวอย่างให้เห็นชัดก็คือ เวลาที่เราจดจ่ออยู่กับอะไรสักอย่างนาน ๆ บางครั้งเราก็ไม่รู้ตัวเลยว่าจะแสดงพฤติกรรมแปลก
ๆ ออกมาหรือเปล่า
2. เราจะทำอะไรช้าลงกว่าเดิม
การทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวกันทำให้เราต้องแบ่งความสนใจออกเป็นสองส่วน
ซึ่งจะดีกว่ามากถ้าเราโฟกัสไปที่งานใดงานหนึ่งก่อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราจะไม่รู้ว่าควรเริ่มต้นที่ตรงไหน อีกทั้งในเวลาที่รีบ ๆ
เราก็จะลนจนจับต้นชนปลายไม่ถูก กลายเป็นเสียเวลามานั่งทบทวนใหม่ว่างานไหนสำคัญกว่ากัน
ทางที่ดีจัดการไปเป็นงาน ๆ ดีกว่า
แถมยังทำให้คุณภาพงานดีเยี่ยมอีกด้วย
3. เราจะได้งานที่ไม่มีคุณภาพ
ผลการวิจัยในปี 2009 จากมหาวิทยาลัย Western Washington University เผยว่า
การทำอะไรหลาย ๆ อย่างเป็นการกระจายความสนใจไปยังสิ่งอื่น ๆ ทำให้เราหลงลืมบางอย่างได้ง่าย
โดยเฉพาะสิ่งที่สำคัญน้อยที่สุด และมีโอกาสพลาดสูงถึงร้อยละ 40 ดังนั้นหากมีงานไหนที่มีรายละเอียดให้เก็บมากหน่อย และคิดว่าจะทำไม่ทันก็ควรต่อรองเวลาออกไปอีกหน่อย
แล้วสะสางให้เสร็จเป็นงาน ๆ ไป แทนที่จะเร่งทำให้เสร็จทุกงาน
โดยที่งานไม่สมบูรณ์สักงาน
4. สมองต้องจำอะไรซับซ้อนมากขึ้น
จากผลการวิจัยในปี 2011 เผยว่าโดยธรรมชาติของสมองของเราเมื่อพยายามทำอะไรมากกว่า
2 สิ่งแล้ว ทั้งสองสิ่งจะถูกให้ความสนใจไม่เท่ากันไปโดยอัตโนมัติ
และต้องจำอะไรซับซ้อนมากขึ้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น การคุยเรื่องงานขณะขับรถมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูงมาก
เป็นเพราะสมองของเราเบี่ยงเบนความสนใจไปที่ปลายสาย มากกว่าจะระแวดระวังเหตุการณ์บนท้องถนนข้างหน้า
หรืออย่างเช่น เล่นโทรศัพท์ขณะขับรถ หรือ คุยโทรศัพท์ขณะกำลังข้ามถนน
เป็นต้น ดังนั้นหากจำเป็นต้องคุยงานขณะขับรถจริง ๆ ก็ควรเสียบหูฟัง หรือจอดรถในบริเวณที่ปลอดภัยคุยให้รู้เรื่องก่อนดีกว่า
5. ถูกมองว่าไม่เป็นมืออาชีพ
การจัดการงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน
หากไม่ใช่มือโปรจริง ๆ อาจมีข้อผิดพลาดส่งผลต่อคุณภาพงานได้ เพราะการทำงานหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกันจะทำให้เราลืมเรื่องการตรวจสอบความถูกต้อง
จนทำให้ต้องกลับมาแก้ไข เมื่อแก้ไขหลายครั้งเข้าเราก็จะเริ่มรู้สึกมองภาพรวมไม่ออกแล้ว
ยิ่งกลายเป็นผิดพลาดไปมากกว่าเดิม แถมยังถูกมองว่าเป็นคนทำอะไรลวก ๆ อีกด้วย
หากยังมีพอมีเวลา และงานไม่ได้รีบร้อนต้องส่ง ควรโฟกัสเป็นงานเก็บรายละเอียดให้ครบจะดีกว่า
6. เราจะขาดสมาธิในการบริหารจัดการ
การที่เวลามีจำกัดอาจทำให้เราไม่ทันได้คิดว่าอะไรเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องจัดการ เพราะมัวแต่กังวลว่าจะทำได้ไม่ทันเวลา
จึงทำทุกอย่างไปพร้อม ๆ กันเลย ความจริงแล้วไม่ใช่วิธีการจัดการที่ดีนัก ทางที่ดีควรตั้งสติกับสิ่งที่ต้องจัดการก่อน
เรียงลำดับความสำคัญก่อนหลัง แล้วจัดการให้เสร็จไปตามลำดับนั้น
7. กระทบความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
หากเรากำลังใช้เวลากับคนสำคัญ หรือ
คนในครอบครัว ขอให้สนใจแต่คนกำลังอยู่ตรงหน้าของเรา
อย่ามัวแต่ก้มหน้าเล่นสมาร์ทโฟน หรือ คุยโทรศัพท์
เพราะนั่นเป็นการทำลายความสัมพันธ์ที่มีต่อคนรอบข้างทีเดียว และยังทำให้เกิดการเข้าใจผิดกันได้อีกด้วย
8. กินเยอะโดยไม่รู้ตัว
หลายคนไม่เคยสังเกตว่าในช่วงเวลาผ่อนคลายตัวเอง
เราก็มักจะหาอะไรทำหลายอย่างในเวลาเดียวกันโดยไม่รู้ตัว และการที่สมองของเรากำลังจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป
จะทำให้เราทำอีกสิ่งหนึ่งไปด้วยโดยไม่รู้ตัว เช่น การดูทีวีไปด้วยหยิบขนมกินไปด้วย
เราก็จะไม่รู้ตัวเลยว่ากินขนมหมดไปมากน้อยเท่าไรแล้ว
9. บ่อนทำลายความคิดสร้างสรรค์
การรีบร้อนทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวกัน อาจทำให้สมองของเราปล่อยความไอเดียสุดบรรเจิดได้ไม่เต็มที่
เป็นผลให้งานของเราขาดความน่าสนใจ ดังนั้น ลองเปลี่ยนมาโฟกัสที่งานเดียว แล้วทำใส่ไอเดียให้เต็มที่
จะเห็น ได้ว่าข้อมูลที่เรานำมาฝากนี้เป็นเพียงไกด์ไลน์ช่วยแนะว่าเวลาจะทำอะไรให้
รอบคอบเอาไว้ก่อนนะคะ ส่วนในทางปฏิบัติจริง ๆ แล้ว ถ้าหากงานบางอย่างไม่ซับซ้อนมากและสามารถทำพร้อมกันได้เราก็ไม่ว่ากันค่ะ
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
No comments:
Post a Comment