ระดับน้ำตาลในเลือดสูงไม่ได้เป็นตัวการทำให้เราป่วยแค่โรคเบาหวานเพียงโรคเดียวซะแล้ว แต่ยังทำให้เรากลายเป็นคนป่วยโรคอัลไซเมอร์ได้ด้วย
ใครที่เริ่มมีอาการหลง
ๆ ลืม ๆ จดจำอะไรในเวลาอันสั้นไม่ได้ ขอบอกไว้เลยว่ากระบวนการเรียนรู้และจดจำของระบบประสาทและสมองกำลังมีปัญหา
และควรหันมาสำรวจพฤติกรรมการกินของตัวเองอย่างด่วนเลยว่าเป็นคนกินติดหวานหรือเปล่า
เพราะจากข้อมูลในเว็บไซต์ articles.mercola.com บอกเอาไว้ว่า
ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมีผลทำให้เรากลายเป็นคนขี้หลงขี้ลืม ซึ่งหากเป็นแบบนี้บ่อย ๆ
อาการอาจลุกลามไปถึงขั้นความจำเสื่อมได้ แต่สาเหตุที่แท้จริงจะเป็นเพราะอะไร
ก็ต้องอ่านดูกันจ้า
ระดับน้ำตาลในเลือดนั้นสำคัญไฉน
ระดับน้ำตาลในเลือดเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าร่างกายมีปริมาณน้ำตาลอยู่ในระดับที่เป็นปกติหรือไม่ โดยปกติแล้วค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดควรอยู่ระหว่าง 80-100 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่านี้ คืออยู่ระหว่าง
100-125 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ถือว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน หรือถ้ามีน้ำตาลในเลือดตั้งแต่
180 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป แสดงว่ากำลังเป็นโรคเบาหวาน
นอกจากนี้แล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดยังมีผลต่ออาการของภาวะสมองเสื่อมอีกด้วย และช่วงวัยที่น่าเป็นห่วงที่สุดก็คือ
กลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 63 ปีขึ้นไปที่อาจจะไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภท
2 หรืออยู่ในภาวะกลุ่มเสี่ยงเป็นเบาหวาน (Prediabetes)
ก็สามารถมีอาการของภาวะสมองเสื่อมได้จากผลของการที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ
อาการขี้ลืมเกิดจากการที่สมองไม่ตื่นตัว
โดยธรรมชาติของสมองฮิปโปแคมปัส
(Hippocampus) หรือสมองในส่วนการเรียนรู้และจดจำในร่างกายเราจะทำงานได้ดีในสภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติ โดยทำงานสัมพันธ์กับตับอ่อนที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมาช่วยปรับสมดุลระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ แต่ถ้าเมื่อไรที่มีระดับน้ำตาลสสูงมากเกินไปจนร่างกายปรับสมดุลไม่ทัน
น้ำตาลจะไปยับยั้งการผลิตฮอร์โมนเลปติน หรือฮอร์โมนอิ่ม ส่งผลต่อการเรียนรู้และจดจำของสมองในส่วนฮิปโปแคมปัสให้มีการตอบสนองได้ช้า
กว่าปกติ ผลคือ สมองจดจำอะไรได้ไม่ดี ร่างกายเฉื่อยชาและอ่อนเพลีย
ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นประจำ ระวังโรคอัลไซเมอร์ถามหา
ระดับน้ำตาลในเลือดสูงก็มีผลทำให้สมองของเราประมวลผลช้าลงกว่าปกติ
เช่น ความจำสั้น พูดจาไม่รู้เรื่อง ความคิดความอ่านไม่ลื่นไหล ซึ่งอาการเหล่านี้แม้ดูเผิน
ๆ จะเป็นแค่เรื่องเล็กน้อย แต่ความจริงแล้วเป็นสัญญาณเตือนของภาวะสมองเสื่อมที่มีโอกาสพัฒนาไปสู่โรคอัลไซเมอร์ได้ในอนาคต จากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส ในสหรัฐอเมริกา
เผยว่า ระดับน้ำตาลในร่างกายสูงเป็นสิ่งที่อันตรายต่อเซลล์เนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายที่สุด
โดยเฉพาะเซลล์เนื้อเยื่อในระบบประสาทและสมองจะทำงานช้าลงกว่าปกติ ส่งผลให้การเคลื่อนตัวของเซลล์สื่อประสาทในระบบสมองบางส่วนหดตัวลง
จากการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ หากเกิดกระบวนการนี้ซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานก็มีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ในที่สุด
กินหวานอย่างไรให้ความจำดี
แม้ว่าธรรมชาติของร่างกายเราจะมีน้ำตาลกลูโคสไหลเวียนในกระแสเลือดอยู่แล้วก็ตาม แต่ก็ใช่ว่าเราจะกินน้ำตาลเพิ่มเข้าไปอีกไม่ได้ เพียงแต่ต้องควบคุมปริมาณการกินที่พอเหมาะนั่นคือ
ไม่เกิน 24 กรัมต่อวัน หรือประมาณ
6 ช้อนชา
และควรลดปริมาณการบริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลต่าง ๆ ด้วย เช่น แอสปาแตม
น้ำตาลฟรุคโตสสังเคราะห์ สเตวิออลไกลโคไซด์ ซูคราโลส น้ำตาลทราย (ซูโครส) และ
เด็กซ์โตรส (กลูโคส) เพราะสารสังเคราะห์เหล่านี้ส่งผลต่อสมองให้กระตุ้นสารโดพามีนออกมามากขึ้น
ทำให้เรารู้สึกเสพติดรสหวาน สามารถกินรสหวานได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นเมื่อไรที่ร่างกายอยากกินอะไรหวาน
ๆ ให้ชดเชยด้วยความหวานธรรมชาติจากผลไม้ หรือใช้วิธีจิบน้ำเปล่าแทน
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
No comments:
Post a Comment