หากจะพูดว่าการนอนหลับมีส่วนสำคัญที่จะกำหนดคุณภาพชีวิตของเรา
หรือนัยว่าเรานอนอย่างไร เหมือนกับที่พูดว่าเรากินอะไรเราก็เป็นอย่างนั้น ( you are what you
eat ) ก็คงไม่ผิดนัก
ถ้าเรานอนหลับสนิทและนานพอเหมาะ เราจะตื่นขึ้นมาด้วยความสดชื่นแจ่มใส กระปรี้กระเปร่า ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าทั้งร่างกายและจิตใจจะหมดไป ขณะเดียวกันร่างกายและจิตใจก็สามารถสังเคราะห์หล่อหลอมอาหารและประสบการณ์ ที่รับเข้าไปในวันวานได้เต็มที่ ก่อเกิดเป็นคุณภาพของชีวิต ในวัน ใหม่ที่เปี่ยมด้วยพลังสร้างสรรค์ แต่ถ้าเรานอนหลับ ๆ ตื่น ๆ นอนน้อย เราจะตื่นขึ้นมาด้วยความง่วงเหงาหาวนอนยังงัวเงีย มึนงง คล้าย ๆ กับว่ายังไม่พร้อมที่จะเริ่มชีวิตในวันใหม่
แต่ถ้าสุดโด่งไปอีกข้างหนึ่งคือนอนมากเกินไป ก็จะเกิดความเกียจคร้านไม่อยากทำอะไร เหมือนเวลากินอาหารมากเกินแล้วร่างกายไม่อยากขยับหรือโยกย้ายไปไหน เรียกว่าเกิดภาวะสะสมมากเกินไป
ดังนั้น ถ้าต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีก็ต้องดูแลเสาหลักแห่งการนอนหลับให้ดีด้วย ดีทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ปริมาณคือนอนจำนวนชั่วโมงที่พอเพียง ส่วนคุณภาพคือนอนหลับให้สนิท ถ้าได้นอนหลับลึกถึงขนาดที่เรียกว่า “ โยคะนิทรา ” ( yoka nidra) คือนอนหลับอย่างมีสมาธิ ( meditive sleep) ด้วยละก็ถือว่าเป็นสุดยอดของการนอนหลับเลยทีเดียว
ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับที่น่าจะช่วยให้คุณนอนหลับได้ดีขึ้น
ถ้าเรานอนหลับสนิทและนานพอเหมาะ เราจะตื่นขึ้นมาด้วยความสดชื่นแจ่มใส กระปรี้กระเปร่า ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าทั้งร่างกายและจิตใจจะหมดไป ขณะเดียวกันร่างกายและจิตใจก็สามารถสังเคราะห์หล่อหลอมอาหารและประสบการณ์ ที่รับเข้าไปในวันวานได้เต็มที่ ก่อเกิดเป็นคุณภาพของชีวิต ในวัน ใหม่ที่เปี่ยมด้วยพลังสร้างสรรค์ แต่ถ้าเรานอนหลับ ๆ ตื่น ๆ นอนน้อย เราจะตื่นขึ้นมาด้วยความง่วงเหงาหาวนอนยังงัวเงีย มึนงง คล้าย ๆ กับว่ายังไม่พร้อมที่จะเริ่มชีวิตในวันใหม่
แต่ถ้าสุดโด่งไปอีกข้างหนึ่งคือนอนมากเกินไป ก็จะเกิดความเกียจคร้านไม่อยากทำอะไร เหมือนเวลากินอาหารมากเกินแล้วร่างกายไม่อยากขยับหรือโยกย้ายไปไหน เรียกว่าเกิดภาวะสะสมมากเกินไป
ดังนั้น ถ้าต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีก็ต้องดูแลเสาหลักแห่งการนอนหลับให้ดีด้วย ดีทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ปริมาณคือนอนจำนวนชั่วโมงที่พอเพียง ส่วนคุณภาพคือนอนหลับให้สนิท ถ้าได้นอนหลับลึกถึงขนาดที่เรียกว่า “ โยคะนิทรา ” ( yoka nidra) คือนอนหลับอย่างมีสมาธิ ( meditive sleep) ด้วยละก็ถือว่าเป็นสุดยอดของการนอนหลับเลยทีเดียว
ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับที่น่าจะช่วยให้คุณนอนหลับได้ดีขึ้น
นอนหัวค่ำตื่นแต่เช้า
ควร เข้านอนแต่หัวค่ำและตื่นแต่เช้า ดีกว่านอนดึกตื่นสาย ถ้าเป็นไปได้ควรเข้านอนอย่าให้เกิน 4 ทุ่ม เพราะช่วงเวลาระหว่าง 6 โมงเย็นถึง 4 ทุ่มนั้นตามหลักอายุรเวทถือว่าเป็นช่วงเวลาของธาตุดิน ธาตุน้ำ บรรยากาศโดยทั่วไปจะมีความหนักหน่วงโน้มนำให้นอนหลับได้ง่าย เหมือนกับธรรมชาติส่งสัญญาณให้รู้ว่าชีวิตในวันนี้สิ้นสุดลงแล้ว ถึงเวลาของการพักผ่อนเสียที ( ยกเว้นสัตว์บางประเภทที่มีวงจรชีวิตตื่นและหากินตอนกลางคืน )
แต่ถ้าเลย 4 ทุ่มไปแล้วจะเป็นช่วงเวลาที่ธาตุไฟเพิ่มขึ้นทำให้ร่างกายตื่นตัวอีกครั้ง และอาจส่งผลให้นอนไม่หลับ ( ยกเว้นคนที่หลับง่ายและนอนดึกจนเคยชิน )
ส่วนที่ให้ตื่นแต่เช้านั้นก็ประมาณว่า ช่วงก่อนพระอาทิตย์ขึ้นเป็นช่วงที่ธรรมชาติเปี่ยมด้วยพลังชีวิต
เผื่อเวลาอาหารมื้อเย็น
ควรเผื่อเวลาให้อาหารมื้อเย็นถูกย่อยให้เสร็จก่อนเข้านอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง นั่นหมายถึงว่าควรกินอาหารมื้อเย็นให้เร็วสักหน่อย เพราะการนอนหลับเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายและจิตใจจะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ถ้ากินอาหารเสร็จแล้วเข้านอนโดยทันที จะทำให้อาหารไม่ถูกย่อย เพราะกระเพราะอาหารทำงานไม่เต็มที่ ขณะเดียวหันก็จะนอนหลับไม่สนิทด้วย
ล้างหน้า ล้างมือ ล้างเท้าก่อนนอน
ก่อนเข้านอนควรล้างมือ เท้า และหน้า และใช้น้ำมัน ( ถ้าได้น้ำมันงายิ่งดี ) นวดที่ฝ่าเท้า จะทำให้เกิดความผ่อนคลายและหลับสนิทขึ้น
อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น คือดื่มนมต้มอุ่น ๆ สักแก้วก่อนนอน เนื่องจากมีคุณสมบัติชุ่มชื้น บำรุง อาการนอนไม่หลับนั้นส่วนหนึ่งเกิดจากร่างกายตื่นตัว ความชุ่มชื้นของนมจะทำให้เกิดความหนืดหน่วงลดความตื่นตัวทำให้นอนหลับง่าย ขึ้น
ไม่ทำกิจกรรมตื่นเต้นก่อนนอน
ก่อนเข้านอน ไม่ควรทำกิจกรรมใด ๆ ที่จะกระตุ้นให้ตื่นตัว เช่น อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เร้าใจชวนติดตาม เพราะจะทำให้คุณไม่อยากนอนหลับหรือนอนไม่หลับ หรือไม่ก็ทำให้หลับไม่สนิท เพราะเก็บเอาเรื่องราวที่ดูหรืออ่านไม่เป็น
ถ้าจะฟังเพลงเพราะฟังดนตรีที่นุ่นนวลชวนให้อารมณ์และจิตใจผ่อนคลายช่วยให้หลับง่ายขึ้น ถ้าต้องการหลับให้สนิทและจิตใจได้พักผ่อนอย่างสมบูรณ์ ควรจะทำจิตใจให้สงบโดยการสวดมนต์และทำสมาธิ การทำสมาธิก่อนนอนจะทำให้หลับได้ลึกอย่างที่เรียกว่า “ โยคะนิทรา ” คือหลับแบบมีสมาธิได้
ท่านอนต้องเหมาะสม
ท่าและทิศในการนอนก็มีผลต่อการนอนหลับด้วยเหมือนกัน ท่านอนตะแคงขวาจะทำให้รูจมูกซ้ายโล่งเพราะน้ำหนักตัวไปลงที่ร่างกายซีกขวา รูจมูกซ้ายสัมพันธ์พลังเย็น เมื่อเปิดโล่งจะทำให้ร่างกายชุ่มเย็นและผ่อนคลาย การนอนตะแคงขวาจึงทำให้ผ่อนคลายมากขึ้น
ส่วนท่านอนตะแคงซ้ายจะทำให้ รูจมูกขวาซึ่งสัมพันธ์กับพลังร้อนเปิดโล่ง มีผลทำให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น จึงเหมาะที่จะเป็นท่านอนช่วงสั้น ๆ ก่อนหรือหลังอาหารมากกว่า ไม่เหมาะที่จะเป็นท่าในการนอนหลับเพราะมีผลทำให้ร่างกายร้อนขึ้น
ท่านอนหงายมีผลทำให้การไหลเวียนของพลังในร่างกายไม่ดี ทำให้ธาตุลมกำเริบ ส่วนท่านอนคว่ำเป็นท่าที่ไม่เหมาะสมที่สุด เพราะร่างกายโดยเฉพาะบริเวณท้องและอกถูกกดทับทำให้หายใจไม่สะดวก
ไม่ควรนอนกลางวัน
โดยทั่วไปแล้วไม่ควรนอนกลางวันเพราะทำให้อาหารไม่ย่อยและเป็นไข้ได้ ยกเว้นในฤดูร้อนที่อนุโลมให้นอนหลับตอนกลางวันได้ เพราะอากาศร้อนทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย การนอนกลางวันจะช่วยฟื้นคืนพลังได้ หรือคนแก่ เด็กเล็ก คนที่ร่างกายอ่อนเพลีย หรือเหน็ดเหนื่อยจากการมีเพศสัมพันธ์ การใช้แรงมากๆ จากการเดินทางหรืออดนอน อนุโลมให้นอนตอนกลางวันได้เพื่อชดเชยพลังที่สูญเสียไป
ลองปฏิบัติตามข้อแนะนำเหล่านี้แล้วคุณจะหลับได้อย่างเป็นสุขขึ้น
ขอให้นอนหลับฝันดีครับ
แหล่งข้อมูลที่มา http://www.doctor.or.th/article/detail/3442
No comments:
Post a Comment