Sunday, February 14, 2016

Philophobia โรคกลัวการตกหลุมรัก ไม่อยากอกหักเลยไม่กล้ารักใคร !




Philophobia โรคกลัวการตกหลุมรัก อาการของคนที่กลัวความรักเข้าขั้นหนัก แม้จะแค่เริ่มรู้สึกหวั่นไหวก็แทบอยากถอยใจหนี
   
          ความรักไม่ได้สวยงามสำหรับทุกคนเสมอไป โดยเฉพาะคนที่เป็นโรค Philophobia หรือโรคกลัวการตกหลุมรัก ที่แทบไม่อยากจะรู้จักความรักเลยสักนิด และแม้เพียงจะเป็นแค่ความรู้สึกหวั่นไหวที่หลายคนบอกว่ามันชุ่มชื่นหัวใจจะ ตาย แต่สำหรับผู้ป่วยโรค Philophobia กลับอยากพาใจไปให้ไกลจากความรู้สึกแบบนี้

Philophobia คืออะไร ?

   
          โรค Philophobia หรือโรคกลัวการตกหลุมรัก เรียกง่าย ๆ ว่าโรคกลัวความรัก โดยจากสถิติในบรรดาโรคกลัวชนิดต่าง ๆ Philophobia ถือว่ารั้งอันดับโรคกลัวที่มีผู้ป่วยมากที่สุด ซึ่งจากการวิเคราะห์ของเหล่านักจิตวิทยาก็พากันสันนิษฐานว่า ปัจจัยที่เป็นต้นเหตุของโรคกลัวความรักอาจมาจากเรื่องใกล้ตัว ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยโรค Philophobia พยายามจะหนีความรู้สึกรัก หรือไม่อยากเข้าใกล้ความรู้สึกพิเศษกับใครอย่างจริงจังเลยสักคน และแม้จะเกิดความรู้สึกพิเศษกับใครขึ้นมาบ้าง ทว่าสุดท้ายแล้วก็มักจะไม่กล้าเปิดใจให้กับความรัก เนื่องจากเหตุผลอะไรบางอย่าง


Philophobia เกิดจากอะไรได้บ้าง ?

          Philophobia หรือโรคกลัวการตกหลุมรักจัดเป็นโรคกลัวชนิดเฉพาะเจาะจง โดยอาจมีสาเหตุของโรคและอาการมาจากปัจจัยต่อไปนี้

1. เหตุการณ์ในแง่ลบที่ฝังใจมาตั้งแต่ตอนเด็ก

          โดยเฉพาะหากเติบโตมาในครอบครัวที่มีปัญหาหย่าร้าง พ่อแม่ คนใกล้ตัวมีชีวิตรักในแง่ลบ เช่น ทะเลาะตบตีกันประจำ หรือแสดงความรุนแรงต่อกันบ่อย ๆ เป็นต้น

2. วัฒนธรรม ประเพณี หรือศาสนาที่มีกฎข้อห้ามเกี่ยวกับเรื่องความรักอย่างเข้มงวด

          บางศาสนา วัฒนธรรม หรือประเพณีของบางที่อาจมีข้อห้ามหรือกฎเกณฑ์ที่ควรระวังหากหญิงและชายจะรัก หรือแสดงความรักต่อกัน ซึ่งอาจจะสร้างความรู้สึกเกรงกลัวฝังรากลึกในใจบางคนได้ ส่งผลให้ไม่อยากเสี่ยงกับการมีความรักนั่นเอง

3. ประสบการณ์ความรักที่ล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า

          โดยเฉพาะกับคนที่มีประสบการณ์อกหักอย่างโชกโชน ความรู้สึกผิดหวัง ความเจ็บปวดที่เกิดจากการกระทำของคนเคยรัก อดีตเหล่านั้นจะตามหลอกหลอนให้รู้สึกเจ็บมากจนไม่กล้าจะเอาหัวใจตัวเองไปลอง เสี่ยงอีกครั้ง ซึ่งอาจทำให้เกิดความระแวงระวังเกินเหตุ ไม่กล้าที่จะมีรักครั้งใหม่อีกต่อไป


Philophobia อาการแบบนี้แหละใช่เลย !

          ใครมีอาการตามข้างล่างนี้หลาย ๆ ข้อ นั่นเริ่มเข้าข่าย Philophobia เข้าแล้ว ลองเช็กกันดู

         1. มีความกังวลทุกครั้งที่เริ่มต้นความสัมพันธ์ฉันคนรัก หรือแม้แต่รู้ใจตัวเองว่าเริ่มหวั่นไหว ก็คล้ายจะทนรับความรู้สึกนั้น ๆ ไม่ได้ จนอาจก่อให้เกิดความเครียด

         2. มักจะห้ามใจตัวเองไม่ให้ถลำลึกไปกับความรู้สึกรัก ชนิดที่จริงจังมากจนเกินไป

         3. มักจะหลีกเลี่ยงสถานที่ที่คนมีคู่ชอบไปเดทกัน เช่น สวนสาธารณะหรือโรงภาพยนตร์

         4. ชอบอยู่คนเดียว ดูเหมือนจะรักสันโดษ แต่แท้จริงแล้วเป็นการป้องกันตัวเองไม่ให้พบเจอกับคนที่อาจจะทำให้เกิดความ รู้สึกหวั่นไหวด้วยต่างหาก

         5. ไม่เปิดใจ ไม่เปิดโอกาสให้ใครได้เข้ามาทำให้รัก

         6. มักจะประเมินความรู้สึกของคนใกล้ตัวว่าจริงใจ หรือรักตัวเองมากแค่ไหน แล้วจึงค่อยตัดสินใจมอบความรู้สึกในระดับที่เท่าเทียมกันกลับไป เพราะกลัวว่าหากตัวเองรักหรือจริงใจต่อคนอื่นมากกว่า อาจทำให้เจอกับความผิดหวังได้

         7. เมื่อต้องเจอกับสถานการณ์หวาน ๆ หรือโดนรุกจีบ อาจมีอาการทางกายภาพอย่างเหงื่อแตก ร้องไห้ ใจสั่น หัวใจเต้นรัวเร็ว หายใจแรง ชามือ-เท้า อาเจียน หรือเป็นลม


Philophobia ขั้นไหน ควรไปพบจิตแพทย์ ?

          ในผู้ป่วยบางรายที่มีความกลัวค่อนข้างรุนแรง อาจมีผลกระทบกับชีวิตประจำวันได้ อย่างเช่น กลายเป็นคนเงียบขรึม หมกมุ่นอยู่กับตัวเอง เก็บกด และหลีกหนีจากสังคม ซึ่งลักษณะดังกล่าวอาจทำให้เกิดความกดดันและความเครียดจนส่งผลกระทบต่อ สุขภาพได้
   
          ฉะนั้นหากรู้ใจตัวเองว่าเราเสี่ยงต่อโรค Philophobia ขั้นหนัก ลองเข้าไปปรึกษาจิตแพทย์เพื่อหาทางออกที่ดีร่วมกันดูสักตั้งก็น่าจะดี


Philophobia รักษาอย่างไรได้บ้าง ?

          แนวทางการรักษาโรคกลัวความรัก อาจทำได้ดัง 3 วิธีนี้


ความคิดและพฤติกรรมบำบัด (Cognitive Behavioral Therapy)

          นักจิตวิทยาและจิตแพทย์จะเข้ามาทำความเข้าใจกับคนไข้ ชวนคุยในประเด็นที่คนไข้รู้สึกกลัว หรืออาจมีรูปภาพและคลิปวิดีโอคนรัก การตกหลุมรัก มาประกอบการรักษา ทั้งนี้ก็เพื่อให้คนไข้มีทัศนคติที่ดีกับความรักมากขึ้น เป็นการกำจัดความรู้สึกกลัวในเรื่องที่ไม่น่ากลัวที่ค่อนข้างได้ผลดีต่อผู้ ป่วย

เผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว (Exposure Therapy)

          นับเป็นอีกวิธีการรักษาที่ได้ผลค่อนข้างมาก โดยผู้เชี่ยวชาญจะจัดให้ผู้ป่วยเจอกับสถานการณ์หวาน ๆ ให้เพศตรงข้ามชวนพูดคุย หรือให้ดูหนังโรแมนติก ซีนสุดซึ้ง เพื่อฝึกให้คนไข้มีแรงต้านทานต่อความกลัวของตัวเองเพิ่มมากขึ้น และลดแรงกดดัน ความวิตกกังวลเมื่อเจอสถานการณ์รัก ๆ ลงไปบ้าง

รักษาด้วยยา
   
          การรักษาด้วยยาจะเป็นแนวทางเสริมสำหรับผู้ป่วยที่มีความเครียดสูง หรือมีความรู้สึกกังวลทุกครั้งเมื่อเจอกับความกลัว โดยวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมอารมณ์และการแสดงออกของตัวเองได้ดีขึ้น

          อย่างไรก็ดี โรค Philophobia ไม่ใช่โรคทางจิตชนิดรุนแรงหรือก่อให้เกิดอันตรายกับคนรอบข้าง ทว่าเป็นอาการทางจิตเวชที่ควรได้รับการเยียวยารักษา เพราะอาจกระทบเข้ากับความรู้สึก สภาพจิตใจ ตลอดจนสุขภาพร่างกายของผู้ป่วยเองอย่างที่ได้บอกเอาไว้ ฉะนั้นหากพบว่าตัวเองมีอาการป่วยโรค Philophobia ก็อย่านิ่งนอนใจ หาเวลาไปพบจิตแพทย์กันดีกว่า


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Heathtopia
Phobia Fears
fearof.net
http://health.kapook.com/view141399.html
เครดิตภาพ  https://www.pinterest.com/pin/547468898425967204/

Thursday, February 4, 2016

จับ 5 สัญญาณ ที่บอกให้รู้ว่าเราเป็นตัวสำรองหรือตัวจริง




        ในสายตาของเขาเห็นเราเป็นตัวจริงหรือตัวสำรอง หลายครั้งที่เราเผลอถามตัวเองอยู่บ่อย ๆ เพราะไม่แน่ใจในสถานะความสัมพันธ์ที่เป็นอยู่ ต่อหน้าเหมือนคนรักกันที่หวานฉ่ำ แต่ลึก ๆ ในความรู้สึกเรากลับคิดว่ามันไม่ใช่ ขืนปล่อยไว้แบบนี้นานวันเข้าไม่ดีแน่ เชื่อว่าใคร ๆ ก็ไม่อยากตกเป็นตัวสำรอง มีความรักทั้งทีก็อยากจะมีความสุข ไม่ใช่ต้องมานั่งอมทุกข์อยู่แบบนี้ ถ้าอย่างนั้นวันนี้เราจะมาจับสัญญาณกันว่าตอนนี้เขากำลังมองเราเป็นตัวจริง หรือตัวสำรองกันแน่

1. อิดออดที่จะพาเราไปทำความรู้จักกับครอบครัว

          ลองสังเกตดูหรือเปล่าว่าทุกครั้งที่คุณเอ่ยปากอยากไปทำความรู้จักกับพ่อแม่ ของเขา เขามักจะหาข้ออ้างมาได้เสมอ เช่น พ่อแม่เขาไปต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ พ่อแม่เขายังไม่พร้อมที่จะพบเจอคนรักของลูกในเวลานี้ เป็นต้น ในเมื่อคุณก็รู้อยู่แก่ใจว่าเป็นข้ออ้างกลวง ๆ ดังนั้นคุณจึงไม่จำเป็นที่จะต้องถามหาเหตุผลเลยว่าเพราะอะไรเขาถึงไม่พาคุณ ไปทำความรู้จักกับพ่อแม่เขาเสียที

2. เวลาที่เขาอยู่กับเพื่อน คุณจะกลายเป็นคนนอกโดยทันที

          โดยปกติแล้วเวลาที่เราคบเพื่อนสักคน เรามักเลือกคบเพื่อนที่มีไลฟ์สไตล์ใกล้เคียงกับเรา และถ้าเราคิดว่ารู้จักนิสัยคนของเราดีพอแล้วละก็ จึงไม่ใช่เรื่องยากที่คุณจะคาดเดานิสัยกลุ่มเพื่อนของเขาได้เช่นกัน ลองสังเกตดูว่าเวลาที่เขาอยู่กับเพื่อน เขาทำให้คุณรู้สึกว่าเป็นส่วนเกินหรือเปล่า ถ้าใช่นั่นอาจเป็นฝันร้ายที่คุณต้องยอมรับแล้วว่าคุณอาจได้ครอบครองตำแหน่ง ตัวสำรองมาแต่ไกล

3. ทำตัวเจ้าชู้ทุกครั้งที่มีโอกาส

          กี่ครั้งแล้วที่คุณจับได้ว่าเขามีพฤติกรรมที่ออกนอกลู่นอกทางบ่อย ๆ ทั้งแชทคุยกับสาว ๆ หรือไม่ก็ทำตัวเจ้าชู้ให้คุณต้องจับได้ ไม่เลยสักครั้งที่คุณจะสามารถเชื่อใจเขาได้ ขณะเดียวกันเขาเองกลับเพิกเฉยกับคำเตือนของคุณ ถ้าเกิดว่าคุณจะไม่คบหาดูใจกับเขาต่อไป ลองถามตัวเองดูสิว่าคุณยังอยากที่จะทนอยู่กับสถานะความสัมพันธ์แบบนี้ต่อไป เรื่อย ๆ อย่างน้อยถ้าคุณสงสารตัวเอง คุณน่าจะฉุกคิดอะไรได้บ้างจากพฤติกรรมเหล่านี้

4. ดีแต่พูด แต่ไม่เคยทำ

          ผู้ชายประเภทนี้มักดีแต่ปาก ต่อหน้าคุณเขามักจะบอกรักให้คุณหลงเคลิ้ม วาดฝันแผนการอนาคตที่มีคุณและเขาไว้ล่วงหน้า และก็ช่วยไม่ได้ที่เราเองก็มักจะหลงเคลิ้มเสียด้วย อย่าเชียวนะ ! อย่าได้หลงกลเด็ดขาด ถ้าคุณยังมีสติคุณจะเห็นว่าพวกนี้มักมีดีแต่ลมปาก แต่ไม่นิยมลงมือปฏิบัติ เพราะเขาขี้ขลาดเกินกว่าจะอยู่คนเดียว ในเวลาเดียวกันก็ไม่อยากที่จะตัดขาดความสัมพันธ์อย่างเด็ดขาดกับคุณ

5. เขาไม่เคยจดจำรายละเอียดเกี่ยวกับคุณได้เลย

          ถ้าคุณคิดว่าคุณได้ตกลงคบหาดูใจกับเขาแล้ว แต่จนแล้วจนรอดเขากลับไม่สามารถจดจำรายละเอียดในสิ่งที่คุณพูดกับเขาได้เลย (แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาจะจดจำรายละเอียดในชีวิตของคุณได้ทุกเม็ดนะ) เช่น เขาจำไม่ได้ว่าคุณชอบหรือไม่ชอบทานอะไร ชอบหรือไม่ชอบเสื้อผ้าสไตล์ไหน เป็นต้น (เพราะแม้แต่เพื่อนเราเองเรายังจำได้เลย) อาจฟังดูเจ็บนะ แต่ขอบอกเลยว่าคุณแทบจะไม่มีความสำคัญอะไรกับเขาเลย

          รู้อย่างนี้แล้วลองเอาไปสำรวจคนใกล้ตัวของคุณดูกันนะว่า เขาเริ่มมีอาการอย่างที่เราบอกบ้างหรือเปล่า ? เอาจริง ๆ แล้วผู้ชายประเภทนี้เป็นผู้ชายไม่พึงประสงค์ที่คุณไม่ควรที่จะต้องเสียเวลา เลยด้วยซ้ำ คุณควรที่จะให้ใจกับคนที่รักคุณอย่างจริงใจ เชื่อเราเถอะว่าอย่าเสียเวลาจมปลักทนอยู่กับความไม่แน่นอนของคนคนหนึ่งเลย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
magforwomen.com และ naij.com

http://wedding.kapook.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81-140720.html