เรื่องของการปลุกระดมสมองให้สดชื่นแจ่มใสเป็นเรื่องที่ใคร ๆ ก็ต้องการ
เพราะเมื่อสมองแจ่มใส ปลอดโปร่ง อะไรก็ดีตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น การฟัง พูด อ่าน
เขียน จดจำ หรือความคิด
กลับกัน หากสมองเหี่ยว ฝ่อ ไม่สดใส อาจจะเกิดจากความเครียด หรือการหมกมุ่นกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งนาน ๆ หรือ ขาดการพักผ่อน ทักษะดังกล่าวก็จะลดน้อยถอยไป กรรมวิธีที่จะทำให้สมองแข็งแรงไปอย่างยืนยาวนั้น มีเทคนิคมาแนะนำคุณ ๆ ดังนี้
1. ดื่มน้ำให้พอ เพราะสมองของคนเราประกอบด้วยน้ำถึง 85% ดังนั้นเมื่อร่างกายขาดน้ำ สมอง ก็จะทำงานช้าลง ทำให้กลายเป็นคนคิดช้าหรือคิดอะไรไม่ค่อยออก
แต่การดื่มน้ำนั้น แต่ละคนจะมีความต้องการน้ำไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับน้ำหนัก และพฤติกรรมต่าง ๆ ทั้งการเคลื่อนไหว และการบริโภค แต่โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ใหญ่ควรดื่มน้ำวันละ 3-5 ลิตร ส่วนเด็ก 2-3 ลิตร
2. หายใจลึก ๆ ช่วยส่งพลังงานไปถึงสมอง ถ้านั่งหายใจ หลังก็ควรจะตั้งตรง จะช่วยให้ออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น และถ้านั่งนานเกินไปควรเปลี่ยนอิริยาบถ ยืดเส้น ยืดสาย เพื่อให้ปอดขยาย
3. เลือกรับประทานอาหาร ที่มีไขมันดีทดแทนไขมันในสมองที่สึกหรอ อาทิ น้ำมันปลา สารสกัดจากใบแปะก๊วย ปลาแซลมอน อีฟนิ่งพริมโรส วิตามินซี
4. ตั้งโปรแกรมให้สมอง โดยใช้ความตั้งมั่นตั้งใจอย่างจริงจัง สมองจะค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมให้ไปสู่เป้าหมายได้
5. หัวเราะและยิ้มบ่อย ๆ ช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ไปกระตุ้นพลังออร่าให้สว่างสดใสจะช่วยดึงดูดสิ่งดี ๆ เข้ามาในชีวิต
6. ฝึกสมาธิพัฒนาอารมณ์ให้สมองผ่อนคลาย จะช่วยทำให้มีจินตนาการมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถทำได้ทั้งตื่นเช้าหรือก่อนนอนทุกวัน
7. ออกกำลังกาย กระตุ้นการทำงานของสมองพร้อมกับดื่มน้ำบ่อย ๆ
8. หาอะไรใหม่ ๆ ให้ ชีวิต เช่น รู้จักคนใหม่ ๆ อ่านหนังสือเล่มใหม่ ขับรถเส้นทางใหม่ หรือแลกเปลี่ยนทัศนคติใหม่ ๆ กับเพื่อน สมองจะหลั่งสารแห่งความสุข (เอ็นดอร์ฟิน) และสารแห่งการเรียนรู้ โดปามีน ทำให้เกิดการอยากเรียนรู้อย่างมีความสุข
9. รู้จักให้อภัยและลดความโกรธ จะทำให้สูญเสียพลังงานน้อยลง และยังเป็นการช่วยลดภาระให้กับสมอง
10. พูดเรื่องดี ๆ กับตัวเองซ้ำ ๆ ให้เกินวันละ 100 ครั้ง
11. บันทึกสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันลงในสมุดบันทึก ช่วยทำให้สมองคิดในเชิงบวก ทำให้หลับฝันดี มีสมาธิ
12. พักผ่อนให้เพียงพอ โดยช่วงเวลา 21.00 น. จะเป็นช่วงเวลานอนที่ดีที่สุด
เรื่องนี้ไม่ใช่เหมาะสำหรับเด็ก แต่เป็นเรื่องที่ทุกเพศ ทุกวัยสามารถปฏิบัติได้เป็นการยืดอายุสมอง ให้อยู่กับเราไปได้นานเท่านาน!!
กลับกัน หากสมองเหี่ยว ฝ่อ ไม่สดใส อาจจะเกิดจากความเครียด หรือการหมกมุ่นกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งนาน ๆ หรือ ขาดการพักผ่อน ทักษะดังกล่าวก็จะลดน้อยถอยไป กรรมวิธีที่จะทำให้สมองแข็งแรงไปอย่างยืนยาวนั้น มีเทคนิคมาแนะนำคุณ ๆ ดังนี้
1. ดื่มน้ำให้พอ เพราะสมองของคนเราประกอบด้วยน้ำถึง 85% ดังนั้นเมื่อร่างกายขาดน้ำ สมอง ก็จะทำงานช้าลง ทำให้กลายเป็นคนคิดช้าหรือคิดอะไรไม่ค่อยออก
แต่การดื่มน้ำนั้น แต่ละคนจะมีความต้องการน้ำไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับน้ำหนัก และพฤติกรรมต่าง ๆ ทั้งการเคลื่อนไหว และการบริโภค แต่โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ใหญ่ควรดื่มน้ำวันละ 3-5 ลิตร ส่วนเด็ก 2-3 ลิตร
2. หายใจลึก ๆ ช่วยส่งพลังงานไปถึงสมอง ถ้านั่งหายใจ หลังก็ควรจะตั้งตรง จะช่วยให้ออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น และถ้านั่งนานเกินไปควรเปลี่ยนอิริยาบถ ยืดเส้น ยืดสาย เพื่อให้ปอดขยาย
3. เลือกรับประทานอาหาร ที่มีไขมันดีทดแทนไขมันในสมองที่สึกหรอ อาทิ น้ำมันปลา สารสกัดจากใบแปะก๊วย ปลาแซลมอน อีฟนิ่งพริมโรส วิตามินซี
4. ตั้งโปรแกรมให้สมอง โดยใช้ความตั้งมั่นตั้งใจอย่างจริงจัง สมองจะค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมให้ไปสู่เป้าหมายได้
5. หัวเราะและยิ้มบ่อย ๆ ช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ไปกระตุ้นพลังออร่าให้สว่างสดใสจะช่วยดึงดูดสิ่งดี ๆ เข้ามาในชีวิต
6. ฝึกสมาธิพัฒนาอารมณ์ให้สมองผ่อนคลาย จะช่วยทำให้มีจินตนาการมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถทำได้ทั้งตื่นเช้าหรือก่อนนอนทุกวัน
7. ออกกำลังกาย กระตุ้นการทำงานของสมองพร้อมกับดื่มน้ำบ่อย ๆ
8. หาอะไรใหม่ ๆ ให้ ชีวิต เช่น รู้จักคนใหม่ ๆ อ่านหนังสือเล่มใหม่ ขับรถเส้นทางใหม่ หรือแลกเปลี่ยนทัศนคติใหม่ ๆ กับเพื่อน สมองจะหลั่งสารแห่งความสุข (เอ็นดอร์ฟิน) และสารแห่งการเรียนรู้ โดปามีน ทำให้เกิดการอยากเรียนรู้อย่างมีความสุข
9. รู้จักให้อภัยและลดความโกรธ จะทำให้สูญเสียพลังงานน้อยลง และยังเป็นการช่วยลดภาระให้กับสมอง
10. พูดเรื่องดี ๆ กับตัวเองซ้ำ ๆ ให้เกินวันละ 100 ครั้ง
11. บันทึกสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันลงในสมุดบันทึก ช่วยทำให้สมองคิดในเชิงบวก ทำให้หลับฝันดี มีสมาธิ
12. พักผ่อนให้เพียงพอ โดยช่วงเวลา 21.00 น. จะเป็นช่วงเวลานอนที่ดีที่สุด
เรื่องนี้ไม่ใช่เหมาะสำหรับเด็ก แต่เป็นเรื่องที่ทุกเพศ ทุกวัยสามารถปฏิบัติได้เป็นการยืดอายุสมอง ให้อยู่กับเราไปได้นานเท่านาน!!
แหล่งที่มา ประชาชาติธุรกิจ, http://health.kapook.com/view4270.html